Types of Black | ประเภทของสีดำ

Types of Black | ประเภทของสีดำ

          การพิมพ์ดำที่เหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ ตรงไปตรงมา แต่สีดำแบบไหนที่จะนำมาใช้ให้ตรงกับไอเดียที่ออกแบบไว้ เพราะสีดำเองก็ดูเหมือนจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่หลากหลาย ด้วยการตั้งค่าและกระดาษให้ผลลัพธ์ที่ต่างกัน ทำการสื่อสารภาพในความหมาย อารมณ์ หรือความรู้สึกที่ต่างกันออกไป การเลือกใช้ และการทำความเข้าใจสีดำบนงานสิ่งพิมพ์จึงเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้ได้งานที่ตรงใจและลดความผิดพลาด เราจึงต้องทำความเข้าใจในเรื่องของ Types of Black | ประเภทของสีดำ

Four-colour black หรือ Rich black

          การพิมพ์สีดำแบบที่เรียกว่าพิมพ์ดำ 4 เม็ด เป็นสีดำที่เข้มที่สุดที่ได้จากการพิมพ์เม็ดสีทั้ง 4 สีพื้นทับซ้อนกัน เพราะลักษณะของสีโปร่งแสงที่จะเข้มขึ้นเมื่อสีทับกัน เมื่อพิมพ์เทียบกับภาพแบบ greyscale แล้ว ภาพที่พิมพ์ดำ 4 เม็ด จะให้สีที่ทึบและเข้มมากกว่า แต่เราจะตั้งค่าสีให้ทุกสี 100 ไม่ได้เพราะ ในความเป็นจริงกระดาษรับหมึกได้จำกัด ซึ่งค่าของ Total Ink Limit คือ 300 แปลว่า ค่า CMYK บวกกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 300 เช่น C60 M60 Y60 K100 ซึ่งเราสามารถเช็ค Total Ink Limit ได้โดยใช้โปรแกรม Adobe Acrobat pro เปิด Tool > Print Production เลือก Output Preview จะมีตัวเลือกให้ติ๊กชื่อ Total Area Coverage และปรับตัวเลือกด้านข้างให้เป็น 300 โปรแกรมจะแสดงพื้นที่ที่หมึกเกินให้ดู

 

          ในภาพเป็นการเปรียบเทียบ การพิมพ์ภาพขาวดำ ด้วยสีดำสีเดียว กับ พิมพ์ภาพขาวดำด้วย สี่สีซึ่งจะเห็นว่าภาพขวา ที่พิมพ์ด้วยสี่สีจะได้สีที่เข้มกว่า และเก็บรายละเอียดได้ดีกว่า แต่การพิมพ์ขาวดำสีเดียว จะได้เปรียบในเรื่องค่าพิมพ์ และค่าแม่พิมพ์ ที่ถูกกว่า และการพิมพ์ดำขาวสี่สี ยังต้องอาศัยความเชี่ยญชาญและเครื่องมือในการควบคุมสีที่ดี เพราะถ้าสีใดสีหนึ่งเยอะเกินไปรูปก็จะสีเพี้ยนได้

Warm and cool blacks

          สีดำสามารถพิมพ์ซ้อนทับกับสีอื่นได้ เกิดเป็นสี Warm black เมื่อพิมพ์ทับกับสีชมพูและจะให้สีดำที่มีโทนเย็นอย่าง Cool black เมื่อพิมพ์ทับบนสีฟ้า โดยปกติโปรแกรมออกแบบอย่าง Adobe illustrator จะแสดงผลเป็นสีดำอย่างเดียวถึงแม้จะมีสีอื่นมาทับ สามารถต้ังค่าให้โปรแกรมแสดงสีที่ตามความเป็นจริงได้โดย กดที่ Tab> View > Proof Setup > Customize… ในหน้าต่าง Proof Setup เป็นการเลือกให้โปรแกรมแสดงผล จำลองสีบนกระดาษตามโปรไฟล์สีที่เราเลือก เช่น ถ้าต้องการดูสีจริงบนกระดาษอาร์ตให้เลือก Coated FOGRA39(ISO 12647-2:2004) และกดที่ Preview (สามารถกด Simulate Paper Color เพื่อความเสมือนจริงยิ่งขึ้น) แต่คุณต้องการดูสีจริงจัง แนะนำให้ คาริเบตหน้าจอ ก่อนที่จะเปิดใช้งาน Proof Setup จะได้สีที่เหมือนจริงยิ่งขึ้น

 

Floating black  พิมพ์ภาพเหมือนกัน แต่สามารถเปลี่ยนตัวหนังสือได้ 

          Floating black คือการแยกการพิมพ์ภาพกับตัวอักษรออกจากกัน โดยกำหนดให้ตัวหนังสือเป็นสีดำอย่างเดียว โดยเมื่อต้องการเปลี่ยนตัวอักษร จึงเปลี่ยนแม่พิมพ์ (เพลท)แค่ สีดำสีเดียว กระบวนการนี้มีข้อจำกัดตรงไม่สามารถใช้ดำสี่เม็ดได้ การจะใช้วิธีนี้ต้องเตรียมตั้งแต่ออกแบบ จะช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้มาก เช่น กรณีพิมพ์เมนูอาหารสองภาษา แทนที่จะต้องใช้เพลทสองชุด ก็ใช้เพลทสี ฟ้า แดง เหลือง ร่วมกัน เพิ่มแค่ เพลทสีดำ เป็นสองชุด ทำให้ประหยัดต้นทุนได้มาก

Printing problems

          ข้อควรระวังของการใช้ ดำสี่เม็ด คือ ถ้าเป็นตัวหนังสือขนาดเล็ก ห้ามใช้วิธีนี้โดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้ตอนพิมพ์ เกิดตัวหนังสือไม่คม มีสีอื่นแลบออกมาได้ กรณีนี้รวมไปถึง เส้น และ vector ที่มีขนาดเล็กด้วย  และสีดำบนแต่ละวัสดุให้ความดำไม่เท่ากัน เช่น สีดำบนกระดาษอาร์ต จะเข้มกว่าสีดำบนกระดาษปอนด์ เพราะกระดาษปอนด์ดูดสีทำให้ตอนแห้งแล้วสีจะดรอปกว่า เป็นข้อควรระวังอีกข้อ

 

อ่านบทความเรื่องการพิมพ์ 4 สีได้ที่ https://papermore.co/2019/07/31/cmyk-rgb-%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b9%8c/

อ่านบทความเรื่องการผสมสีระหว่าง 4 สีในการพิมพ์ได้ที่ https://papermore.co/2019/07/24/tints-and-mixing-color-%e0%b8%97%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b9%8c%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9c%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%aa%e0%b8%b5/

อ่านเรื่องอุปกรณ์ตรวจวัดค่าสีเพื่อการปรับสีให้ได้มาตรฐานได้ที่ https://papermore.co/2019/11/26/colorchecker-passport-%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%9b%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b9%8c%e0%b8%84%e0%b8%b9%e0%b9%88%e0%b9%83%e0%b8%88%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e/

และสามารถติดตามเราได้ที่ https://www.facebook.com/Papermorethailand/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *