Gradients and Tints | เกรเดียนท์และทินท์

Gradients and Tints | เกรเดียนท์และทินท์

        Gradients and Tints | เกรเดียนท์และทินท์ สามารถใช้เพื่อสร้างให้เกิดความเข้มและอ่อนของสีรวมถึงภาพกราฟิกที่สร้างขึ้นจากสีพื้น ซึ่งทำให้ tint สามารถที่จะเพิ่มระดับน้ำหนักของสีหรือลดลงก็ได้เช่นกัน ในการออกแบบผ่านจอคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องหนึ่ง แต่การนำมาใช้ในงานพิมพ์จริง ก็มีข้อจำกัดที่ดีไซเนอร์ควรต้องระวัง เพราะจะมีบางช่วงที่ไม่สามารถพิมพ์ได้ หรือพิมพ์ได้ไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นผลมาจากลักษณะเฉพาะตัวของเม็ดสกรีนในงานพิมพ์

Gradients

Gradient เป็นการไล่สีโดยใช้ตั้งแต่หนึ่งสีขึ้นไปเพื่อสร้างเอฟเฟกต์ต่างๆ โดยเฉพาะ gradient ที่ไล่สีแบบ 2 สี สีหนึ่งมักจะเข้มกว่าและอีกสีที่ใช้มีความอ่อนกว่า อย่างไรก็ตาม อาจเกิดข้อผิดพลาดดังที่เห็นในภาพ

 

ในขณะที่จะสร้างภาพ gradient ที่ไล่จากสีฟ้าอ่อนไปสีขาวจะปรากฏให้เห็นแถบสีที่การไล่สีไม่เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน (ภาพบน) แต่เราสามารถเลี่ยงไม่ให้เกิดแถบดังกล่าวได้โดยการเติม noise ให้กับ gradient ให้เกิดการกระจายของเม็ดสีหรือเพื่อผสมเม็ดสีให้เกิดสีใหม่ ซึ่งทำให้เกิดเป็น random pattern ให้กับองศาของเม็ดสกรีน (ภาพล่าง)

 

 

Tints

Tint คือสีใดๆ ก็ตามที่นำไปเจือสีขาวเพื่อให้มีความอ่อนลง และมีความสว่างเพิ่มมากขึ้น โดย tints สามารถพิมพ์ได้ในช่วง 10-90 เปอร์เซ็นต์ของสีพื้นปกติ และสามารถสร้างจากภาพ half-tone ที่มีขนาดแตกต่างกันเพื่อทำให้สีที่ได้จางลง

          Tint books

 

 

Tints สามารถสร้างสีต่างๆ ได้หลายระดับ ไม่ว่าจะเป็นการใช้สีเดียวหรือนำหลายสีมาผสมกัน ซึ่งสามารถดูได้ในหนังสือ tint books ที่แสดงให้เห็น swatches ที่มีการไล่ระดับและผสมสีของ tints ซึ่ง tint books จะพิมพ์โดยใช้กระดาษต่างชนิดกันเพื่อให้ดีไซเนอร์สามารถเห็นสีของ tints บนเนื้อกระดาษจริง เช่น กระดาษชนิดเคลือบ (coated) หรือชนิดไม่เคลือบ (uncoated) เพื่อประกอบการตัดสินใจ แต่เพื่อให้เห็นงานที่ใกล้เคียงกับงานจริงมากที่สุด การดูบนกระดาษจริงที่พิมพ์ออกมาหรือปรู๊ฟจะทำให้เห็น tint ที่อยู่บนกระดาษที่เลือกใช้ได้จริงๆ ได้ดีกว่า

Multiple coloured gradients

Gradients อาจไล่ระดับเพียง 1 ถึง 2 สี แต่ก็สามารถใช้หลายๆ สีในการสร้าง gradient ได้เช่นกัน ตามหลักการแล้ว เราจะเห็นแถบสีจางและสีทึบที่แทรกสอดกันอยู่ ในภาพด้านล่าง แสดงการใช้ multiple gradient เพื่อให้เห็นการไล่ระดับสีได้ผลดีมากกว่าสีพื้นเรียบๆ คล้ายกับการจัดแสงและปรับแสงใหม่ให้กับรูปภาพ

ภาพแสดง gradients ทั้ง 3 ภาพด้านล่างได้ถูกนำไปใช้กับการสร้างภาพทางด้านขวา ซึ่งภาพของ gradients บางภาพยังอาจทำให้เห็นรูปร่างของมัน ทั้งที่เป็นแบบเส้นตรงและวงกลม

 

          Linear gradient

Linear gradient หรือการไล่ระดับสีแบบเส้นตรง คือการไล่สีจากสีหนึ่งไปตามแนวนอน สีที่ผสมกัน (ในที่นี้คือสีขาวและฟ้า) แสดงให้เห็นในแถบ ซึ่งมี sliders (ที่วงกลมในภาพ) ที่ดีไซเนอร์สามารถตัดสินใจเลือกจุดที่สีมีการไล่ระดับ โดยปกติมักจะตั้งไว้ที่กึ่งกลางระหว่าง 2 สี แต่ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้

 

          Multiple colours

Gradient ที่เกิดจากการไล่สี สามารถปรับ sliders เพื่อสร้างการไล่ระดับจากสีหนึ่งไปอีกสีหนึ่งให้มีความคมชัดขึ้นหรือจางลง

 

          Radial gradient

เป็นการไล่ระดับสีที่ผสมกันในรูปทรงกลมซึ่งเริ่มไล่สีจากจุดกึ่งกลางของวงกลมและปรับได้เช่นเดียวกับแบบ linear gradient

 

อ่านบทความเรื่องทินท์และการผสมสีได้ที่ https://papermore.co/2019/07/24/tints-and-mixing-color-%e0%b8%97%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b9%8c%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9c%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%aa%e0%b8%b5/

อ่านบทความเรื่องฮาล์ฟโทนและเกรเดียนท์ได้ที่ https://papermore.co/2019/06/28/half-tones-gradients-%e0%b8%ae%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b9%8c%e0%b8%9f%e0%b9%82%e0%b8%97%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%99/

อ่านบทความ Color checker ที่ช่วยปรับค่าสีให้ใกล้กับความเป็นจริงมากที่สุดได้ที่ https://papermore.co/2019/11/26/colorchecker-passport-%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%9b%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b9%8c%e0%b8%84%e0%b8%b9%e0%b9%88%e0%b9%83%e0%b8%88%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e/

และติดตามเราได้ที่ https://www.facebook.com/Papermorethailand

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *