Line Weights | ขนาดและน้ำหนักของเส้นและตัวอักษร

Line Weights | ขนาดและน้ำหนักของเส้นและตัวอักษร

          งานดีไซน์สามารถปรับเปลี่ยนขนาดตัวอักษร กรอบของกล่องข้อความ และเส้นขอบของภาพกราฟิกได้ แต่ก็มีข้อจำกัดบางประการที่พึงระวัง โดยตัวแปรที่สำคัญคือหน่วยวัดขนาดของ Line Weights | ขนาดและน้ำหนักของเส้นและตัวอักษร ที่มีการกำหนดขนาดที่ต่างไปตามโปรแกรมที่ใช้ ซึ่งอาจวัดเป็นหน่วยมิลลิเมตร แต่โดยทั่วไปมักใช้หน่วย points บางโปรแกรมสามารถเปลี่ยนค่าของสองหน่วยนี้ได้เพื่อให้งานไปในทิศทางเดียวกันและลดปัญหาในการพิมพ์

ดีไซเนอร์จำเป็นต้องระวังข้อจำกัดต่างๆ ของเส้นและขนาดตัวอักษรที่เรียกว่า hairline (ซึ่งมีขนาดโดยปกติอยู่ที่ 0.125pt) ซึ่งเป็นขนาดที่เล็กและละเอียดเกินไปจนไม่อาจพิมพ์ได้ ภาพด้านล่างแสดงให้เห็นถึงขนาดของเส้นและตัวอักษรต่างๆที่อาจก่อให้เกิดปัญหา

 

Process lines

ในการพิมพ์เส้นโดยใช้สีพื้น โดยปกติมักทำให้การพิมพ์แม่นยำ แม้แต่ขนาด hairline ก็สามารถทำให้เรามองเห็นได้ เช่นการใช้ตัวอักษรสีดำล้วน หรือการใช้กรอบของภาพเป็นสีเหลืองล้วน โดยที่ไม่ได้ไล่ระดับสี

 

CMYK

การพิมพ์เส้นต่างๆ ที่เกิดจากการผสมสีสัดส่วนต่างๆ จะมีความแม่นยำน้อยกว่าการใช้สีพื้นในการพิมพ์ หากต้องมีการพิมพ์โดยใช้สีของเม็ดสกรีนมากกว่า 1 สีขึ้นไปเพื่อซ้อนกันให้เกิดภาพของเส้นต่างๆ การพิมพ์ลักษณะนี้จะก่อให้เกิดจุดผิดพลาดต่อเส้นต่างๆ ที่ใช้ในงานพิมพ์ได้ง่าย เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จุดจะซ้อนกันทุกเพลตจนทำให้เราได้สีของตัวอักษรที่ตั้งค่าไว้ อีกทั้งถ้าตัวอักษรยังมีขนาดที่เล็กมากๆ จึงมีโอกาสที่จะพิมพ์ไม่ตรง หรือพิมพ์พร่าได้

 

Reversing out of a process colour

การพิมพ์เส้นแบบ reverse หรือการพิมพ์เว้นว่างของสีพื้นอาจให้ผลที่ดีเช่นกัน แต่ก็ให้ผลที่ไม่ดีนักกับการพิมพ์เส้นที่มีขนาดเล็ก ซึ่งเป็นผลมาจากเม็ดสกรีนเช่นกัน

 

Reversing out of CMYK

การพิมพ์เส้นแบบ reverse ด้วยกระบวนการพิมพ์ 4 สี CMYK ให้ผลที่ด้อยกว่าแบบสีพื้นเช่นกัน เนื่องจากการพิมพ์ที่ใช้การทับซ้อนกันของเม็ดสกรีนสีต่างๆ เช่นเดียวกับการใช้สีผสม

อ่านบทความเรื่องการซ้อนกันของจุดเม็ดสีได้ที่ https://papermore.co/2019/04/28/screen-angles/

และติดตามเราได้ที่ https://www.facebook.com/Papermorethailand/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *