Proofing | ปรู๊ฟ

Proofing | ปรู๊ฟ

     การตรวจ Proofing | ปรู๊ฟ มีด้วยกันหลายขั้นตอน รวมถึงมีด้วยกันหลายวิธีที่ใช้ตรวจสอบเพื่อเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพระหว่างการพิมพ์ เพื่อให้งานดีไซน์ออกมาได้อย่างแม่นยำที่สุด ผู้ออกแบบจะได้เห็นลักษณะงาน สามารถตรวจสอบสีที่พิมพ์ แก้ไขจุดที่ผิดพลาด การจัดวาง registration และ layout ของงานพิมพ์โดยดูจากปรู๊ฟที่พิมพ์ออกมา ซึ่งปรู๊ฟจะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับงานพิมพ์มากที่สุด เป็นขั้นตอนตรวจสอบคุณภาพจนมั่นใจก่อนสั่งพิมพ์งาน

Type of proof

          Soft or screen proof

เป็นปรู๊ฟสำหรับตรวจสอบ layout และค่าสีต่างๆ โดยตรวจสอบโครงสร้างของงานพิมพ์โดยดูผ่านหน้าจอ

ข้อได้เปรียบคือสามารถกำจัด moire และ rosette pattern ได้ รวมถึงเอฟเฟกต์อื่นๆ ที่เราไม่ต้องการให้เกิดในงานพิมพ์

ข้อจำกัดของวิธีนี้คือสามารถตรวจสอบได้เฉพาะงานก่อนพิมพ์ซึ่งปรากฏบนหน้าจอ หากเมื่อพิมพ์ออกมาแล้วจะไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏบนจอได้

          Laser proof

เป็นการพิมพ์ปรู๊ฟที่ให้ภาพขาวดำ

ข้อดีคือได้เห็นภาพ ข้อความ และการจัดวางตำแหน่ง และมีต้นทุนที่ถูกกว่าแบบ blueline

ข้อจำกัดคือการที่มีความละเอียดต่ำ และไม่ได้พิมพ์ออกมาเท่ากับขนาดจริงของสิ่งพิมพ์นั้นๆ

          Pre-press proof

เป็นปรู๊ฟที่ดูผ่านหน้าจอในรูปแบบดิจิทัลปรู๊ฟ เป็นการตรวจสอบให้เห็นภาพก่อนที่จะพิมพ์จริง โดยขนาด สี และการจัดวางเหมือนจริงทั้งหมด

ข้อดีคือมีต้นทุนที่ไม่แพงและบางส่วนจะเป็นดิจิทัล

ข้อจำกัดคือสีอาจไม่แม่นยำเท่ากับ press proof และไม่ได้ใช้หมึกที่ใช้ในการพิมพ์จริง

          Blueline, Dylux or salt proof

เป็นปรู๊ฟสิ่งพิมพ์ที่ผลิตจากฟิล์ม ภาพที่เห็นจะเป็นสีเดียวพิมพ์บนกระดาษ photosensitive แสดงให้เห็นการจัดหน้ายก ภาพ และข้อความ เหมือนที่ใช้พิมพ์จริง รวมถึงขนาดที่ตัดแล้วและเข้าเล่ม

ข้อดีคือสามารถทำได้รวดเร็วและไม่ต้องใช้วิธีขั้นตอนที่ซับซ้อน และหน้ากระดาษสามารถพับ ตัด และเย็บได้ เพื่อให้เห็นหน้าตาของสิ่งพิมพ์ใกล้เคียงกับงานที่ใช้พิมพ์จริง

          Scatter proof

ปรู๊ฟเฉพาะส่วนของภาพที่แยกเป็นภาพเดี่ยวหรือกลุ่มของหลายๆ รูป นำมาจัดเรียงด้วยกัน เหมาะกับงานที่ต้องการความแม่นยำและคุณภาพของภาพที่สูง

มีข้อได้เปรียบคือใช้ในการตรวจสอบสีของภาพในงานก่อนทำ final proof เพราะสามารถตรวจสอบรูปภาพหลายๆ รูปได้พร้อมกันในคราวเดียวเพื่อประหยัดเวลาและต้นทุน

ข้อจำกัดคือภาพที่เห็น เราจะไม่ได้เห็นภาพรวมจริงๆ เหมือนกับที่จัดวางใน layout

          Composite integral colour proof

เป็นปรู๊ฟชนิดคุณภาพสูง (เช่น Matchprint หรือ Chromalin) จะพิมพ์ออกมาโดยใช้กระดาษพิมพ์ 4 แผ่น (แต่ละแผ่นแทนสีพื้นทั้ง 4 ของเพลต) แล้วนำมาเคลือบ

ข้อได้เปรียบคือเราจะได้เห็นปรู๊ฟสีที่มีความแม่นยำสูงมากจากฟิล์มที่แยกสีก่อนที่จะนำไปสร้างเพลต

มีข้อจำกัดคือใช้เวลาและแรงงานในการเตรียมปรู๊ฟที่นาน ราว 30 นาทีในการผลิต

          Press or machine proofs

เป็นปรู๊ฟที่ผลิตโดยใช้เพลต หมึก และกระดาษจริง

มีความแม่นยำสูง ได้งานที่เหมือนจริง ใกล้เคียงกับงานพิมพ์จริงมากที่สุด ปรู๊ฟนี้จะพิมพ์ด้วยหมึกสีจริงลงบนเนื้อกระดาษจริงที่เลือกใช้

มีค่าใช้จ่ายที่สูงในการเตรียมปรู๊ฟชนิดนี้

          Contract proof

ปรู๊ฟสีที่ใช้เพื่อตรวจสอบเป็นขั้นตอนสุดท้าย เพื่อเป็นข้อตกลงในการพิมพ์ระหว่างโรงพิมพ์และลูกค้าก่อนที่จะส่งผลิตจริง

มีความแม่นยำมากที่สุด เพราะตรวจสอบจนแน่ใจแล้วก่อนจะทำการพิมพ์

อ่านบทความการตรวจสอบความพร้อมก่อนส่งไฟล์ให้โรงพิมพ์ได้ที่ https://papermore.co/2019/07/23/preparing-color-for-print-%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b9%87%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b9%8c%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%aa/

และติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊กเพจ https://www.facebook.com/Papermorethailand/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *