Trapping | การทำแทรปปิ้ง

Trapping | การทำแทรปปิ้ง

          เมื่อพิมพ์งาน สิ่งที่คาดหวังจากการพิมพ์คือการพิมพ์เพลตทั้ง 4 สีซ้อนทับกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่เมื่ออยู่ในขั้นตอนการพิมพ์จริงๆ อาจเกิดปัญหาที่สีพื้น 2 สีจะเหลื่อมกันจากการพิมพ์วัตถุ 2 พื้นที่ชนกัน ทับซ้อนกันจนเกิดการผสมสีหรือพิมพ์ห่างกันจนเกิดช่องว่างขึ้นได้ เกิดเป็นรอยพิมพ์ที่ไม่ตรง แต่ปัญหานี้เราสามารถแก้ไขได้โดย Trapping | การทำแทรปปิ้ง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการเว้นพื้นที่ระหว่างหมึกพิมพ์สีหนึ่งกับสีอื่นๆ

 

การทำ trapping นั้นมีความจำเป็นมาก ใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดช่องว่างระหว่างเพลตหรือบล็อกในตอนพิมพ์

  •  Spread trapping เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด เป็นการให้วัตถุที่สีอ่อนกว่า นำมาขยายทับไปบนวัตถุที่สีเข้มกว่า
  • Choke trapping จะใช้วิธีการลดขนาดของ aperture ที่วัตถุจะถูกพิมพ์ลงไป
  • Centred trapping จะใช้การรวมกันของเทคนิคการขยายวัตถุและการย่อ aperture ในปริมาณเท่าๆ กัน

 

          Mis-registered

เทคนิคที่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้คือ choke และ spread trapping

          Spread

เส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมสีชมพูนั้นจะใหญ่กว่า aperture ของสี่เหลี่ยมสีฟ้าเล็กน้อย

          Choke

aperture ของสี่เหลี่ยมสีฟ้าจะเล็กกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมสีชมพูเล็กน้อย

          Centring

ส่วนของวงกลมสีชมพูจะขยายออกเล็กน้อยและ aperture ของสี่เหลี่ยมสีฟ้าจะลดขนาดลงเล็กน้อย

 

Knockout และ overprint (untrapped options)

 

 

มี 2 ทางเลือกให้กับดีไซเนอร์กับปัญหาของสีที่ไม่ได้ทำการ trapping คือการ knockout และ overprint โดย overprint จะใช้กับงานพิมพ์สีพื้นทับอีกสีหนึ่ง ในขณะที่ knockout คือการเว้นช่องขาวไว้บนเพลตสีพื้นหนึ่ง และพิมพ์อีกสีหนึ่งลงในช่องที่เว้นว่างไว้ ดังนั้นการ overprint จะทำให้เกิดการผสมสีในบริเวณที่พิมพ์ทับกัน แต่ knockout จะคงสีพื้นเดิมไว้ และทั้ง 2 วิธีสามารถนำไปเป็นลูกเล่นในการออกแบบงานดีไซน์ได้เช่นกัน

https://papermore.co/2019/06/29/overprinting-half-tone-and-gradients/

 

Specialist considerations

การควบคุม spread และ choke trapping ในหลายๆ โปรแกรมทำได้ยาก แต่ดีไซเนอร์สามารถเลือกเฉพาะบางพื้นที่ที่จะทำ trapping ได้ ดังภาพที่แสดงด้านล่าง สามารถปรับใช้ spread และ choke โดยการปรับเพิ่มขึ้น-ลดลงอัตโนมัติได้ และเมื่อมีการสร้างพื้นที่ trapping ไว้ ดีไซเนอร์จะต้องแจ้งทางโรงพิมพ์ และสำคัญต่อการบันทึกไฟล์ CTP (computer to plate) เพื่อไม่ให้มีการบันทึกทับการตั้งค่าเหล่านี้

 

Overprint, reverse out and surprint

มีคำนิยามอีก 3 คำ ที่เป็นเทคนิคที่ใช้สำหรับการพิมพ์สีที่ทับซ้อนกันคือ overprint, reverse out และ surprint

– Overprint คือการพิมพ์ทับสีพื้นทับกับอีกสีหนึ่ง

– Reverse out คือการพิมพ์เว้นพื้นที่สีขาว ในบริเวณส่วนที่เราออกแบบไว้ แทนที่จะพิมพ์เป็นภาพสีตามปกติ ซึ่งจะถูกนำออกจากเพลตที่ใช้พิมพ์

– Surprint คือการพิมพ์ทับกันระหว่าง 2 วัตถุ โดยใช้ tints สีเดียวกัน โดยปรับให้อีกภาพหนึ่งจางลง จนมีความเข้มของสีราว 70%

สำหรับการทำ trapping วิธีอื่นๆ ในการเปลี่ยนการจัดวางของรูปภาพ นอกเหนือจากวิธีที่กล่าวไป ดีไซเนอร์สามารถใช้ trapping กับกรอบของรูป (frame) และพื้นหลัง (background) แยกจากกันได้

สามารถอ่านเรื่องพิมพ์ทับ (Overprint) ได้ที่ https://papermore.co/2019/06/29/overprinting-half-tone-and-gradients/

และสามารถติดตามเราได้ที่ https://www.facebook.com/Papermorethailand/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *