Printing Imposition | การจัดวางหน้าสำหรับทำแม่พิมพ์

Printing Imposition | การจัดวางหน้าสำหรับทำแม่พิมพ์

Printing Imposition | การจัดวางหน้าสำหรับทำแม่พิมพ์ คือการจัดเรียงของหน้ากระดาษตามลำดับและตำแหน่งบนกระดาษที่จะพิมพ์ก่อนที่จะทำการตัดและพับในขั้นตอนถัดไป การทำ Imposition plan จะกำหนดหน้าต่างๆ ที่งานดีไซน์จะถูกพิมพ์ออกมา ซึ่งขึ้นกับวิธีที่จะพิมพ์และขั้นตอนในการพับด้วย ซึ่งไม่ส่งผลกับงานพิมพ์อย่างใบปลิวหรือแผ่นพับมากนัก แต่การทำหนังสือซึ่งซับซ้อนกว่ามากจะช่วยให้การจัดหน้าเพื่อใช้สีพิเศษ, tints และการเคลือบ ถูกพิมพ์ออกมาเหมือนอย่างที่ตั้งใจไว้ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการดีไซน์ที่เราสามารถเลือกได้ว่าจะพิมพ์แบบพลิกด้านหลังธรรมดา หรือว่าพิมพ์ด้านหลังโดยกลับหัวกระดาษก่อน ขึ้นกับสิ่งที่คุณได้ออกแบบไว้

Printing plate

แต่ละครั้งที่กระดาษพิมพ์ลอดผ่านแท่นพิมพ์เพื่อรับภาพ จะเรียกว่า pass และการพิมพ์ 2 หน้าต้องการ 2 passes แต่ละ pass สำหรับหน้ากระดาษแต่ละด้าน แต่เทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้การพิมพ์ 2 หน้าสามารถทำได้เพียงการผ่านเพียง pass เดียว จากภาพที่แสดงคือลูกกลิ้งแท่นพิมพ์ในระบบออฟเซ็ต ซึ่งจะทำให้เกิดภาพลงบนกระดาษเมื่อลอดผ่านแท่นเหล่านี้

Gripper edge

คือฟันจับ (gripper) ซึ่งจับแผ่นกระดาษด้านขอบเพื่อดึงให้กระดาษเข้าไปในแท่นพิมพ์ ซึ่งจะต้องเว้นพื้นที่ระหว่างกระดาษกับตัวจับ (gripper) ด้วย

Types of sheet work

          work and turn (กลับในตัว / กลับใน)

การพิมพ์ลงบนด้านหนึ่งของกระดาษ จากนั้นพลิกด้านหลังแล้วพิมพ์ด้านที่สองด้วยการจัดวางกระดาษแบบเดียวกับด้านแรก โดยที่จับหรือ gripper เป็นด้านเดิม เหมือนการพลิกกระดาษไปหน้าหลัง ทำให้ได้แผ่นพิมพ์ 1 แผ่น ได้งาน 2 ชุดที่เหมือนกัน

          work and tumble (กลับหัวท้าย / กลับในแกนนอน)

การพิมพ์ทั้ง 2 ด้านแบบกลับหัวท้ายลักษณะเหมือนตีลังกา โดยใช้เพลต 1 ชุด โดยกระดาษจะถูกพิมพ์ด้านหนึ่ง จากนั้นพลิกด้านโดยเปลี่ยนด้านที่จับหรือ gripper เป็นคนละด้านกับตอนพิมพ์ด้านแรก แล้วจึงพิมพ์อีกรอบหนึ่ง เมื่อพิมพ์เสร็จ กระดาษจะถูกตัดครึ่ง ซึ่งจะทำให้ได้งานที่หน้าตาเหมือนกัน 2 ชุด เนื่องจากการพิมพ์แบบ work and tumble นั้น จะมีการเปลี่ยนด้านจับของ gripper ดังนั้น มีโอกาสเป็นไปได้ที่ registration จะไม่ตรงกัน

          work and twist

การพิมพ์ครึ่งหนึ่งของกระดาษ แล้วหมุนกระดาษ 180 องศา จากนั้นกระดาษจะถูกพิมพ์อีกด้านหนึ่ง มักใช้กับงานประเภท two-up prints หรือก็คืองานพิมพ์ที่หน้าตาเหมือนกัน ถูกพิมพ์ลงบนกระดาษแผ่นเดียวกัน โดยใช้เพลตชุดเดียวกัน

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับขนาดกระดาษมาตรฐานได้ที่ https://papermore.co/2019/08/30/standard-paper-sizes-%e0%b8%82%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%94%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%90%e0%b8%b2/

และติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊กเพจ https://www.facebook.com/Papermorethailand

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *