AM FM and Hybrid Screen | รูปแบบเม็ดสกรีน

AM FM and Hybrid Screen | รูปแบบเม็ดสกรีน

AM FM and Hybrid Screen | รูปแบบเม็ดสกรีน คำว่าเม็ดสกรีนคือเม็ดสีที่พิมพ์ลงบนกระดาษในอุตสาหกรรมการพิมพ์ มีด้วยกันหลายรูปแบบและขนาดนำมาเพื่อใช้ในการสร้างภาพพิมพ์บนชิ้นงาน มีด้วยกันหลายประเภท ทั้งชนิดที่เม็ดใหญ่ เล็ก และแบบที่เป็นส่วนผสมของ

รู้จักกับ Halftone

เป็นเทคนิคการจัดเรียงตัวของเม็ดสี (เม็ดสกรีนในงานพิมพ์) ซึ่งเมื่อจุดเหล่านี้มารวมกันจะทำให้เกิดเป็นภาพสีต่างๆ ภาพจำพวกนี้สร้างโดย รูปแบบ (Pattern) ตามขนาด, ความหนาแน่น, จำนวนเม็ดสกรีน ต่างๆกัน  ซึ่งเมื่อมองภาพจากระยะไกล ตามนุษย์อาจแยกจุดเหล่านี้ไม่ได้ แต่เมื่อขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นก็จะสามารถมองเห็นการซ้อนกันของจุดเหล่านี้ได้ เม็ดสกรีนมีหลากหลายรูปแบบ แต่นิยมใช้ 2 ประเภท คือ Conventional /Amplitude Modulation (AM) หรือเม็ดสกรีนขนาดใหญ่ และ Frequency Modulation (FM) หรือเม็ดสกรีนแบบเม็ดฝุ่นที่มีขนาดเล็กและละเอียดกว่า

เม็ดสกรีนแบบ Amplitude Modulation (AM) และ Frequency Modulation (FM)

 

          Amplitude Modulation (AM) จะเป็นเม็ดสกรีน แบบมาตราฐานที่ใช้มาอย่างยาวนาน เป็นกระบวนสร้างภาพให้เป็นจุดตาราง (Halftone) เพื่อให้สามารถนำไปพิมพ์ได้ โดยใช้ความถื่ของตารางเป็นตัวกำหนดความละเอียดของภาพ ยิ่งความถี่มาก ความละเอียดก็จะมากตาม เช่น ถ้า halftone ความละเอียด 175 lpi (lines per inch) จะเทียบเท่าความละเอียดในไฟล์ 300 dpi (dots per inch) โดยเริ่มแรกใช้ในการพิมพ์ภาพขาวดำ ต่อมาเมื่อต้องการพิมพ์ภาพสี จึงใช้วิธีจัดวางองศาสกรีน เพื่อให้สามารถพิมพ์ทับกันได้ และหลีกเลี่ยงการเกิดตาเสื่อหรือ ลายมัวเร Moire pattern   

          สำหรับการพิมพ์ด้วยเม็ดสกรีนชนิดนี้  ใช้การเรียงตัวของเม็ดสีเพื่อสร้างเป็นภาพ โดยใช้เม็ดสี ทรงกลม หรือเหลี่ยมตามต้องการ แต่ด้วยลักษณะการพิมพ์แบบนี้จึงเกิดช่องว่างสีขาวที่เป็นรอยต่อระหว่างจุดเม็ดสี จากความห่างตรงนี้เอง ทำให้เม็ดสกรีนชนิด FM (Frequency Modulation) เข้ามามีบทบาทในการเติมเต็มช่องว่างเหล่านั้น ทำให้เนื้อสีเนียนขึ้น ไล่สีได้เรียบมากขึ้นและเก็บรายละเอียดได้ชัดเจนมากกว่าเดิม

          ส่วนความละเอียดของเม็ดสกรีนขึ้นอยู่กับวัสดุที่เลือกใช้

กระดาษปรู๊ฟหรือกระดาษหนังสือพิมพ์นิยมใช้ 133 LPI /ใช้รูปที่มีความละเอียด 266 DPI

กระดาษทั่วไปนิยมใช้ 150-175 LPI  /ใช้รูปที่มีความละเอียด 300-350 DPI

ส่วนงานที่ต้องการความละเอียดสูงใช้ 200 LPI /ใช้รูปที่มีความละเอียด 400 DPI

หมายเหตุจอคอมพิวเตอร์ความละเอียดอยู่ที่ 72 DPI

          Frequency Modulation printing (FM) หรือ Stochastic screening คือ ลายสกรีนที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยใช้ลายแพทเทิร์นที่ไม่ซ้ำกันแทนลายเม็ดสกรีน ทำให้ไม่เกิด Moire patterns ทำให้ได้ภาพที่ความละเอียดสูงเหมือนภาพถ่าย หรือภาพงานศิลป์ ซึ่งนั่นก็เพราะจุดเม็ดสี half-tone ที่พิมพ์จะมีขนาดที่มองเห็นได้ยาก ทำให้มองเห็นเป็นภาพที่คมชัดและคุณภาพความละเอียดสูง

           ส่วนข้อเสียของ FM Screen คือความสม่ำเสมอของสีเวลาพิมพ์ช่วง Midtone ที่เปอร์เซ็นสี 40%-60% AM Screen ยังทำได้ดีกว่า ทั้งเรื่องความเรียบและน้ำหนักของสี และการควมคุมให้สม่ำเสมอทำได้ยากกว่า ทำให้ไม่ค่อยได้รับความนิยมในการผลิตงานทั่วไป

 

HYBRID SCREEN  | รูปแบบเม็ดสรีนไฮบริด  (AM+FM)

 

          

          คุณสมบัติ

เม็ดสกรีนมีทั้งที่ขนาดใหญ่และหนา (AM) และขนาดเล็กมากๆ (FM) แต่ทั้ง 2 แบบไว้ด้วยกัน  โดยรวมเอาข้อดีของทั้งสองสกรีนเอาไว้ โดยช่วงสีที่เป็นรายอะเอียด ช่วง 1%-5% และ 95%-99% จะเป็น FM Screen ส่วนที่เหลือจะเป็น AM Screen  โดยสรุปเป็นข้อๆได้ดังนี้

ส่วนที่พิมพ์ด้วย FM Screen ได้ความละเอียดที่สูง ส่วนที่เหลือได้ประโยชน์จาก AM Screen ได้สีที่เนียนและเข้มกว่า ได้งานคุณภาพในระดับเดียวกับภาพถ่าย

          การเตรียมไฟล์งาน

เพื่อที่จะได้งานพิมพ์คุณภาพสูงจำเป็นที่จะต้องมีไฟล์ที่มีความละเอียดสูงตามไปด้วยโดยความละเอียดที่แนะนำคือ 500 DPI (งานพิมพ์ทั่วไปต้องการ 300 DPI) ทำให้การจะทำงานประเภทนี้ต้องวางแผน ตั้งแต่เตรียมไฟล์งาน จัดหน้า และการ export ไฟล์

          การใช้งาน

ประเภทงานที่เหมาะสมกับ Hybrid Screen คือ งานพิมพ์ที่ต้องความละเอียดสูง  หรืองานออกแบบที่ต้องการให้สามารถดูได้ในระยะใกล้โดยไม่เห็นเม็ดสกรีน งานพิมพ์ดูเนียนสวย เช่น งานพิมพ์ภาพศิลปะ หรือภาพถ่ายความละเอียดสูงเป็นต้น

อ่านเพิ่มเติมเรื่ององศาของเม็ดสกรีนได้ที่ https://papermore.co/2019/04/28/screen-angles/

และสามารถติดตามเราได้ทาง https://www.facebook.com/Papermorethailand/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *