Letterpress Printing | การพิมพ์เลตเตอร์เพรส

Letterpress Printing | การพิมพ์เลตเตอร์เพรส

          Letterpress Printing | การพิมพ์เลตเตอร์เพรส เป็นวิธีพิมพ์ระบบเก่าแก่ คิดค้นโดย โยฮานน์ กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg) เมื่อราว 500 ปีก่อน ซึ่งเป็นระบบการพิมพ์ที่ใช้แม่พิมพ์โลหะ ที่เรียกว่า “ตัวตะกั่ว” โดยทำแม่พิมพ์จากโลหะ เป็นตัวอักษรแล้วนำมาเรียงเป็นคำ ประโยค ทำให้สามารถถอดนำมาใช้ซ้ำได้ ซึ่งวิธีนี้ทำให้สามารถสร้างแม่พิมพ์ได้อย่างรวดเร็ว แทนการแกะสลักแม่พิมพ์จากไม้  และการพิมพ์ด้วยวิธีนี้ก็ทำให้ การพิมพ์เข้าสู่ยุครุ่งเรือง สามารถทำหนังสือได้จำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ความรู้ต่างๆสามารถส่งต่อไปได้ดีขึ้น  ในประเทศไทยการพิมพ์ชนิดนี้ก็เป็นที่นิยมและใช้การอย่างแพร่หลาย โดยผู้ที่นำการพิมพ์วิธีนี้เข้ามาคือ หมอบรัดเลย์ ในสมัยรัชกาลที่ 3 จากนั้นเป็นต้นมา การพิมพ์ของไทยก็พัฒนาเรื่อยมา เกิดโรงพิมพ์ขึ้นมามากมาย เกิดอาชีพช่างพิมพ์ และ ช่างเรียงพิมพ์ คือ ผู้ที่มีหน้าที่เรียง ตัวตะกั่ว ให้เป็นคำ ประโยค เป็นหน้าๆ ซึ่งต้องใช้ผู้ที่สามารถอ่านหนังสือตัวกลับได้รวดเร็ว และถูกต้อง โดยในสมัยกึ่งพุทธกาล ปี 2500 สมัยนั้นโรงพิมพ์ที่มีชื่อสร้างหลายโรง อยู่ที่เยาวราช เช่น โรงพิมพ์บุ้นเม้ง และงานส่วนใหญ่ก็ใช้วิธีพิมพ์ด้วย ตัวตะกั่วจากฝีมือช่างเรียงพิมพ์

          ตามลักษณะการพิมพ์แบบเลตเตอร์เพรส ใช้แม่พิมพ์ทำจากโลหะกัดผิวจนเป็นตัวอักษร แต่ละตัวเรียงกัน  เพื่อรับหมึกแล้วกดทับลงบนกระดาษ  ลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์เมื่อพิมพ์แบบเลตเตอร์เพรสคือ ในงานพิมพ์จะมี ผิวไม่เรียบเป็นลักษณะเฉพาะ , หมึกจะหนาตามบริเวณขอบ, และด้วยการพิมพ์ที่มีแรงกด ทำให้ได้ผิวต่างระดับ เหมือนการปั๊มจม เป็นเอกลักษณ์ของเลตเตอร์เพรส

ปัจจุบันมีระบบพิมพ์ที่ทันสมัยมากมาย ทำให้เลตเตอร์เพรสมีบทบาทสำคัญน้อยลง เนื่องจากการทำแม่พิมพ์ลำบากและใช้เวลานานในการเรียงตัวอักษรให้เป็นคำ แต่ภาพที่ได้นั้นกลับดูแปลกตา คงความคลาสสิค มีความเหลื่อมของหมึกให้เห็น อันเป็นเอกลักษณ์ะและสเน่ห์เฉพาะตัวของการพิมพ์ระบบนี้ ทำให้ระบบเลตเตอร์เพรสได้กลับมา ในรูปแบบการพิมพ์ที่ใช้ความปราณีต มีความคราฟ และทำมือ เป็นความไม่สมบูรณ์ที่น่าหลงใหล 

 

 

เหมาะกับสิ่งพิมพ์ใด

เหมาะกับงานที่เน้นความเป็นศิลปะ อาจใช้ทำนามบัตร หรือการ์ดแต่งงานที่ต้องการความพิเศษ และรูปแบบ ที่การพิมพ์สมัยใหม่ให้ไม่ได้ ช่วยสร้างภาพจำให้กับชิ้นงานของคุณ  ลองใช้เทคนิคเลตเตอร์เพรสบอกเล่าเรื่องราวของคุณ

 

 

https://papermore.co/collection-shop/letterpress/

ชมผลงานเลตเตอร์เพลสของเราเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์นี้  🙂

และสามารถติดตามเราได้ที่เฟสบุ๊กเพจ https://www.facebook.com/Papermorethailand/

3 thoughts on “Letterpress Printing | การพิมพ์เลตเตอร์เพรส

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *