Paper Qualities | คุณสมบัติของกระดาษ

Paper Qualities | คุณสมบัติของกระดาษ

          ดีไซเนอร์สามารถเลือกกระดาษได้หลายชนิดในการใช้พิมพ์ ซึ่งมีตัวเลือกทั้งขนาด สี พื้นผิว การจัดวาง ความสามารถในการพิมพ์ และปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อกระบวนการพิมพ์ทั้งหมด ทำให้งานดีไซน์ชิ้นเดียวกันสามารถมีหน้าตาต่างกันออกไปขึ้นกับกระดาษที่ใช้ GSM, grain และทิศทางของกระดาษเมื่อเข้าสู่เครื่องพิมพ์ คือ Paper Qualities | คุณสมบัติของกระดาษ สำคัญที่ต้องพิจารณาเมื่อเลือกใช้กระดาษในการตีพิมพ์

GSM

แกรม (gsm) หรือ กรัมต่อตารางเมตร (grams per square metre) คือน้ำหนักของกระดาษที่แสดงคุณสมบัติโดยเทียบจากกระดาษนั้นๆ ในขนาดพื้นที่ 1 ตารางเมตรหรือเท่ากับขนาดกระดาษ A0 นั่นเอง ยิ่งกระดาษมีแกรมมาก กระดาษนั้นจะมีน้ำหนักและให้สัมผัสที่หนามาก ดังนั้นหน่วยแกรม ก็คือการวัดน้ำหนักของกระดาษชนิดนั้นๆ โดยกำหนดขนาดกระดาษ A0 เป็นมาตรฐานในการเทียบนั่นเอง และเนื่องจากกระดาษแต่ละชนิดนั้นมาจากวัสดุที่ต่างกันทำให้กระดาษต่างๆ มีแกรมสำหรับเลือกใช้งานได้ไม่เท่ากัน

Paper grain

กระดาษที่ผลิตจากเครื่องผลิตกระดาษจะมีแนวเส้นใย ซึ่งเกิดจากเส้นใยที่เรียงกันเป็นแนวที่เกิดมาจากกระบวนการผลิต ซึ่ง grain คือทิศทางที่เส้นใยกระดาษจัดเรียงตัว ทำให้เกิดคุณสมบัติที่ช่วยให้เราทราบว่ากระดาษชนิดนั้นสามารถพับ ดัด หรือฉีกขาด เป็นลักษณะใดได้บ้าง

Direction

ทิศทางของเส้นใยต่างๆ ในกระดาษสำหรับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ นิยมใช้ในสำนักงาน จะมีแนวเส้นใย (grain) ที่เรียงตัวขนานไปตามแนวยาวของกระดาษ ซึ่งทำให้เคลื่อนผ่านเครื่องพิมพ์ได้ง่าย

          Paper types and print quality

ดีไซเนอร์มักเลือกใช้กระดาษหลายชนิดร่วมกันในการสร้างงาน เช่น การพิมพ์หนังสือ อาจใช้กระดาษมากถึง 4 ชนิด เช่น กระดาษ woodfree, กระดาษอาร์ตด้าน, กระดาษอาร์ตมัน, และกระดาษสี woodfree โดยในการเพิ่มสีอื่นๆ และผิวสัมผัสให้กับงานพิมพ์ จะยิ่งเพิ่มคุณสมบัติในการพิมพ์ และเพิ่มต้นทุนด้วยเช่นกัน ซึ่งคุณสมบัติที่เกี่ยวข้อง เช่น ความเรียบ, การซึมผ่านของน้ำหมึก, ความทึบแสง และความสามารถในการไม่ยอมให้น้ำหมึกซึมผ่าน

Smoothness

พื้นผิวที่เรียบของกระดาษได้มาจากการเติมสารบางชนิดที่ช่วยให้ผิวเรียบเมื่อนำไปขัดกับลูกกลิ้งรีดผิว ซึ่งพื้นผิวที่เรียบมีส่วนทำให้งานพิมพ์ที่ออกมาให้สัมผัสที่ดี

Absorbency

กระดาษมีคุณสมบัติในการซึมซับน้ำหมึกได้แตกต่างกัน หมึกพิมพ์จะแห้งเร็วกว่าบนกระดาษที่ดูดซับน้ำหมึกได้ดีกว่าแต่กระดาษที่ดูดซึมเร็วจะทำให้กระดาษเป็นรอยจุดได้ โดยปกติการพิมพ์จะต้องรอให้หมึกแห้ง จึงสามารถนำมาใช้ตัด พับ หรือใช้เทคนิคต่างๆ ในขั้นตอนสุดท้ายได้ หากต้องการให้หมึกพิมพ์แห้งเร็วขึ้น สามารถใช้รังสี uv เพื่อเร่งให้หมึกแห้งเร็วขึ้นได้ เช่นเดียวกัน วิธีนี้ใช้กับกระดาษหรือวัสดุพิมพ์ที่ดูดซึมน้ำหมึกได้น้อยเพื่อทำให้สามารถพิมพ์สีติดได้

Opacity

ความทึบแสงจะเป็นระดับที่ใช้ในการบอกความสามารถในการพิมพ์ลงบนกระดาษหน้าหนึ่ง โดยที่ไม่ทะลุไปยังหน้าพิมพ์อีกด้านหนึ่ง ซึ่งกระดาษที่มีความทึบมากจะพิมพ์ทะลุไปอีกด้านได้ยากด้วยเช่นกัน สำหรับการพิมพ์ที่ไม่ต้องการให้ทะลุไปด้านหลัง ต้องพิจารณาความทึบแสงควบคู่ไปกับแกรมซึ่งใช้แทนความหนาของกระดาษด้วย

Ink holdout

เป็นระดับคุณสมบัติที่ไม่รับน้ำหมึก โดยกระดาษที่เคลือบจะทำให้น้ำหมึกเกาะอยู่บนพื้นผิวของกระดาษ ทำให้กระดาษใช้เวลาในการทำให้แห้งนานขึ้น เมื่อออกแบบชิ้นงาน ควรปรึกษาทางโรงพิมพ์เพื่อตรวจสอบความสามารถในการพิมพ์ของกระดาษแต่ละชนิด อาจใช้วิธีทำให้แห้งด้วยแสง uv หรือการพิมพ์ลงบนกระดาษเนื้อปกติแล้วเคลือบผิวด้วยวิธีต่างๆ แทน

อ่านบทความเรื่องแกรมและความหนาของกระดาษได้ที่ https://papermore.co/2019/08/24/%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%94%e0%b8%b2%e0%b8%a9-gsm/

อ่านบทความเรื่องชนิดของกระดาษต่างๆ ได้ที่ https://papermore.co/2019/08/25/paper-types-print-quality/

อ่านบทความเรื่องขนาดกระดาษมาตรฐานได้ที่ https://papermore.co/2019/08/30/%e0%b8%82%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%94%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%90%e0%b8%b2%e0%b8%99-standard-papers/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *