Overprinting | การพิมพ์ทับซ้อน

Overprinting | การพิมพ์ทับซ้อน

Creative Techniques for Overprinting | การพิมพ์ทับซ้อน

           ไอเดียที่สร้างสรรค์ เมื่อมาพร้อมกับการสร้างเทคนิคที่หลากหลาย จะช่วยให้งานพิมพ์ออกมามีมิติ ไม่น่าเบื่อ และทำอะไรได้มากกว่าที่เคย ด้วยวิธีที่งานพิมพ์ตอบโจทย์อย่างการพิมพ์ทับ การไล่ระดับสี และการใช้จุดเม็ดสี Half-tone

 

การพิมพ์ทับซ้อน (Overprinting)

การพิมพ์ทับ เป็นการทำให้หมึกพิมพ์สีหนึ่งทับซ้อนกับอีกสีหนึ่ง เป็นลูกเล่นที่ทำให้เกิดการผสมสีและได้สีใหม่เกิดขึ้นซึ่งเป็นการผสมสีจากการทับกันของจุดเม็ดสีต่างๆ ที่มี screen angle ซ้อนวางที่ต่างกัน

Setting overprints

โดยปกติ ข้อความและวัตถุต่างๆ จะแยกกันอยู่แบบ knockout โดยหมึกพิมพ์จะพิมพ์ลงบนช่องว่างที่เว้นไว้ แต่เราสามารถเลือกตั้งค่าให้พิมพ์ทับกัน (overprint) ได้ แต่ต้องพิมพ์ตามลำดับของการพิมพ์ 4 สีพื้นเท่านั้น ซึ่งจะเริ่มพิมพ์จากสีฟ้า ทำให้สีฟ้าสามารถพิมพ์ทับสีได้ทุกสี ในขณะที่สีเหลืองจะพิมพ์ทับสีดำได้เท่านั้น ทำให้ลำดับในการพิมพ์แต่ละสีมีความสำคัญ

เราสามารถทำ overprint ได้กับการพิมพ์พื้นหลัง กรอบ และข้อความได้ด้วยเช่นกัน โดยตัวหนังสือ (type) สามารถตั้งค่าได้โดยเมนูด้านใน Trap Information ซึ่งทำให้เกิดตัวหนังสือสีต่างๆ แต่ไม่นิยมใช้กับตัวหนังสือที่มีขนาดเล็กมากๆ เพราะอาจควบคุมเม็ดสีได้ยาก การพิมพ์ทับสามารถตรวจสอบในขั้นตอน pre-press โดยการพิมพ์เพลตแยกสีกัน จะหมายถึงการพิมพ์ในพื้นที่ว่างๆ เพื่อให้เห็นเอฟเฟกต์ของการพิมพ์ทับมากที่สุด

โดยปกติคู่สีจะตั้งค่าไว้เป็น knockout โดยในกล่อง dialogue box จะแสดงสีที่อยู่ด้านบน ซึ่งจะทับกับสีพื้น และตั้งค่า A 0.144pt overlap เพื่อให้ไม่เกิดช่องว่างระหว่างสีทั้งสอง

ภาพการตั้งค่า Trapping

อ่านเพิ่มเติมเรื่องการเตรียมไฟล์ก่อนส่งโรงพิมพ์ https://papermore.co/2019/07/23/preparing-colour-for-print/

อ่านบทความเม็ดสกรีนแบบต่างๆ ได้ที่ https://papermore.co/2019/04/29/am-fm-and-hybrid-screen-%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%99/

และเยี่ยมชมเฟสบุ๊กเพจของเราได้ที่ https://www.facebook.com/Papermorethailand/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *