Trimming & guillotining | การตัดและเจียน

Trimming and guillotining  | การตัดและเจียน

              เมื่องานถูกพิมพ์ออกมาแล้ว จะเข้าสู่การทำงานขั้นต่อไปนั่นคือการจบงานซึ่งเป็นกระบวการหลังพิมพ์ (post press) ซึ่งเป็นการตัดแต่งให้ชิ้นงานที่ถูกยกออกมาจากเครื่องมีสภาพที่สมบูรณ์ พร้อมใช้งาน ซึ่งสิ่งที่จำเป็นและขาดไม่ได้ในการพิมพ์หนังสือ หรืองานพิมพ์ใดๆ บนกระดาษพิมพ์ขนาดใหญ่ ก็คือการตัด (trimming) เพื่อตัดกระดาษและเล็มขอบกระดาษส่วนเกินออกไป จนได้รูปแบบหน้าตาและขนาดของงานจริง ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องสื่อสารถึงเรื่องการออกแบบที่จะให้งานพิมพ์มีลักษณะเป็นอย่างไร

 

Cutter draw

เครื่องตัด (trimming machine) จะมีใบมีดอยู่ด้านใต้ งานพิมพ์จะถูกตัดด้วยใบมีดที่มีแรงกดสูง ใบมีดจะเคลื่อนไปด้านหน้าเพื่อตัดงานพิมพ์ที่เรียงไว้เป็นตั้ง สามารถตัดได้คราวละหลายแผ่น หรือตัดเป็นเล่มสำเร็จ ในขั้นตอนนี้งานที่เราออกแบบไว้จึงควรมีระยะตัดตกเพื่อให้งานที่ตัดออกออกมาเรียบร้อยและสมบูรณ์ ไม่มีส่วนขาวของกระดาษเกินเข้ามาในชิ้นงาน (ดูบทความ : การตั้งค่าไฟล์งานก่อนส่งพิมพ์ )

 

Amending artwork to compensate for creep

การผลิตหนังสือ เราจะใช้วิธีการพับหน้ากระดาษหลายๆ ทบซ้อนเข้าด้วยกัน ทำให้กระดาษที่พับส่วนในสุดจะมีส่วนที่ยื่นเกินออกมาจากการซ้อนกันของแผ่นกระดาษ โดยยิ่งมีความหนามาก ส่วนที่ยื่นเกินออกมายิ่งมีมาก ซึ่งต้องแก้ไขด้วยการตัดกระดาษส่วนเกินออก เทคโนโลยีการพิมพ์จึงมีการใช้ใบมีดร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์เข้ามารองรับ เพื่อกำจัดขอบกระดาษส่วนเกินได้อย่างแม่นยำ โดยมีส่วนที่ยื่นออกมาไม่เกิน 1 ใน 10 มิลลิเมตร โดยเฉพาะการพิมพ์หนังสือหรือแมกกาซีนที่มียอดพิมพ์มาก จะใช้เครื่องตัดขอบทั้ง 3 ด้าน โดยใบมีดส่วนด้านหน้าจะตัดส่วนแรกและอีก 2 ใบมีดที่เหลือตัดด้านหัวและท้ายของกระดาษ

Guillotine เป็นเครื่องตัดที่มีใบมีดเดียวที่มีน้ำหนักมากจะกดลงมาทับและตัดกระดาษตามแนวดิ่ง อุปกรณ์นี้ประกอบไปด้วยโต๊ะสำหรับวางกระดาษที่พร้อมตัด ฉากกั้นซึ่งขยับเลื่อนได้ซึ่งวางตั้งฉากอยู่ด้านหลังกองกระดาษ มีตัวยึดหรือ press beam ที่ช่วยบีบอัดและป้องกันขอบของกองกระดาษด้านหน้า และสุดท้ายคือใบมีด ซึ่งเครื่องตัดในปัจจุบันจะเป็นแบบอัตโนมัติ และมีระบบที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นโดยออกแบบให้ต้องใช้ทั้งสองมือในการใช้งานใบมีด

แสดงการวางหน้าที่แสดงให้เห็นหน้ากระดาษที่มักจะยื่นออกมาเมื่อซ้อนกันเป็นเล่ม โดยลูกศรที่แสดงจะบอกถึงขนาดที่กระดาษจะยื่นออกมามากขึ้น โดยกระดาษหน้าแรกและหน้าสุดท้ายจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ส่วนกระดาษหน้ากลางจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ทำให้การออกแบบงานจึงต้องคำนึงในส่วนนี้ด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *