ชวนเด็กๆ ตั้งคำถามเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมรอบตัว ด้วยการให้พวกเขาออกแบบชุมชนเล็กๆ ของตัวเอง

          Foster + Partners เป็นบริษัทของที่ขับเคลื่อนการพัฒนาสถาปัตยกรรมอย่างยั่งยืน ผสมผสานระหว่างงานศิลป์เข้ากับเทคโนโลยีได้อย่างลงตัว ที่มีผลงานมีชื่อเสียงอย่าง British Museum, The Gherkin, Commerzbank, ออฟฟิศในตึกสูงระฟ้า, สนามบิน, สนามกีฬา, อาคารรัฐสภา, ท่าเรือ, และผังเมือง ที่มีรางวัลที่ทรงเกียรติอย่าง Pritzker Prize การันตีถึงความสำเร็จในแวดวงสถาปัตยกรรม ได้มีโปรเจค At-Home Architecture Challenge ให้กับเด็กๆ ที่อยู่ที่บ้านมีกิจกรรมสนุกๆ ได้ความรู้ ไว้ทำในช่วงกักตัวเพื่อหลีกลี้จากการแพร่ระบาดของโรคร้ายได้อย่างชาญฉลาด เด็กๆ ในช่วงอายุระหว่าง 2-12 ขวบ สามารถเรียนรู้และเข้าใจบทบาทความเป็นสถาปนิกเบื้องต้นได้โดยง่าย

          กิจกรรมจะเป็นในลักษณะการพับกระดาษธรรมดาๆ เป็นรูปอาคารบ้านเรือนหลากหลายรูปแบบ แต่กลับเพลิดเพลินได้ในทุกช่วงวัย แม้กระทั่งเด็กโตเองยังรู้สึกอยากจะลองพับดูสักครั้ง กิจกรรมนี้ส่งเสริมทั้งทักษะการพับ การใช้กระดาษอย่างคุ้มค่า การได้ใส่จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไม่จำกัด สามารถสร้างเป็นหมู่บ้านหรือเมืองเล็กๆ ที่ล้วนทำจากกระดาษได้แบบที่ไม่ซ้ำใคร เหนือสิ่งอื่นใด เด็กๆ จะได้ฝึกตั้งคำถามในเชิงสถาปัตยกรรมกับตัวเอง เริ่มจากเรื่องง่ายๆ อย่างเช่น ทำไมหมู่บ้านหรือเมืองที่มาจากกระดาษของเราถึงไม่มีต้นไม้ แล้วต้นไม้จำเป็นไหม? เราจะทำให้มีพื้นที่สีเขียวได้อย่างไร? หรือคำถามอย่าง ภาพของเมืองในอนาคตอีก 10 ปี 20 ปีข้างหน้า จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร?

          กิจกรรมสนุกๆ นี้ ผู้ใหญ่ก็สามารถทำร่วมกันกับเด็กๆ ได้ เป็นการสานสัมพันธ์ครอบครัว โดยมีบทบาทคอยเป็นเพื่อนของเด็กๆ และเป็นคนให้คำชี้แนะให้ความรู้ ให้มุมมองของบ้านเรือนและกลุ่มอาคารต่างๆ รอบตัวได้ และนอกจากนี้ Foster + Partners ยังมี e-book ให้ดาวน์โหลดไว้ใช้ส่งเสริมกิจกรรมที่ทำให้งานพับกระดาษไม่ต้องเหงา ซึ่งมีบทกลอนสั้นๆ เป็นภาษาอังกฤษให้ได้อ่าน เรียนรู้โครงสร้างของบ้านและความสำคัญของแต่ละองค์ประกอบ พร้อมภาพประกอบได้อย่างน่ารักอบอุ่น สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://www.fosterandpartners.com/media/2639529/what_makes_a_building_ebook.pdf

 

          กิจกรรมนี้ อาจปลูกฝังความรู้สึกนึกคิดของสถาปนิกไว้เป็นทางเลือกหนึ่งของเยาวชน เพื่อที่ในอนาคต อาจสร้างนักออกแบบอาคารที่ยิ่งใหญ่ที่มาจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ อย่างกิจกรรมนี้ หรืออย่างน้อยๆ ความรู้ ความเพลิดเพลินที่ได้ อาจเป็นการฝึกตั้งคำถามที่ดีที่ทำให้เด็กๆ มีบทบาทและส่วนร่วมได้อย่างมีกระบวนการคิดที่เป็นระบบ

 

ที่มา https://mymodernmet.com/at-home-architecture/?fbclid=IwAR11PLS4q7YhnmOXPEDJge2zTyigTZ2OSxWM2A-dw18miaj0BSEmqNfmr5E

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *