Kiss Cutting | การตัดสติกเกอร์

 

Kiss Cutting (การตัดสติกเกอร์)

เป็นวิธีตัดที่นิยมใช้กับสติกเกอร์ โดยรวมแล้วมีความคล้ายกับการไดคัทอยู่มาก แต่ไม่ได้ตัดตามรูปร่างของอาร์ตเวิร์ก จะเป็นการตัดที่กำหนดรูปร่างที่แน่นอน เช่น กำหนดพื้นหลังเป็นรูปสี่เหลี่ยม ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งและเหมาะกับงานที่ต้องลอกสติกเกอร์จำนวนคราวละมากๆ เพราะสามารถลอกได้ง่ายและรวดเร็วกว่าชิ้นที่ไดคัตตามรูปร่าง

ชนิดของกระดาษสติกเกอร์ 

สติกเกอร์ที่เราคุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็นบนบรรจุภัณฑ์ ตามร้านเครื่องเขียน ฉลากต่างๆ แท้จริงแล้วแบ่งได้เป็นหลายชนิด ขึ้นกับการดึงคุณลักษณะที่เราต้องการจะใช้ การเลือกสติกเกอร์นั้นจึงสำคัญ เพราะเป็นหนึ่งในวัสดุที่มักใช้สำหรับพิมพ์โลโก้ของแบรนด์ต่างๆ

1. สติกเกอร์กระดาษแบบขาวด้าน
มีผิวสีขาวเนื้อด้านคล้ายผิวกระดาษ A4 หรือกระดาษปอนด์ทั่วไปจึงสามารถนำมาขีดเขียนด้วยปากกาลงไปได้ คุณสมบัติทนความร้อนได้ดี แต่ฉีกขาดและเปื่อยยุ่ยได้ง่ายเหมือนเนื้อกระดาษทั่วไป จึงไม่ทนน้ำและความชื้น มีราคาที่ไม่สูงมาก เหมาะกับการติดบนฉลากสินค้าที่ไม่ใช่ประเภทของเหลวหรือภาชนะที่ไม่ได้สัมผัสกับน้ำและความชื้น เช่น บาร์โคด, ฉลากบอกวันหมดอายุ, ติดบนผลไม้ สามารถทนความร้อนได้ราว 90 องศาเซลเซียส การเคลือบลามิเนตจะช่วยให้กันน้ำได้มากขึ้น

2. สติกเกอร์กระดาษแบบขาวมัน
ด้วยคุณสมบัติที่ดีกว่าแบบขาวด้านที่เขียนได้เหมือนกระดาษ จึงมีราคาที่สูงกว่า เพราะสติกเกอร์ชนิดนี้มีผิวที่มันเงาและสามารถกันน้ำได้ในระดับหนึ่ง เหมาะกับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มที่แช่เย็น มีโอกาสโดนความชื้นได้บ้าง แต่ยังไม่เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องจุ่ม แช่ หรือสัมผัสกับน้ำเป็นเวลานาน นอกจากสีขาวแล้ว ยังมีที่เป็นสีเงิน สีทอง และสีอื่นๆ

3. สติกเกอร์พีพี (PP) ชนิดขาวเงา, มันใส, ขาวด้าน
สติกเกอร์ชนิดที่เนื้อไม่ใช่กระดาษ แต่เป็นพลาสติก จึงทนทานต่อแรงฉีกขาดและมีผิวที่มันเงาสวยงามเป็นพิเศษ สามารถกันน้ำได้ ซึ่งความสามารถในการกันน้ำหรือกันชื้นและกันความร้อน แต่ทนทานมากกว่าชนิด PVC หลายเท่า สามารถใช้ร่วมกับเทคนิคพิเศษได้หลากหลาย เช่น Spot UV, พิมพ์ฟอยล์ หรือไดคัท เพิ่มความสวยงามได้ด้วยการเคลือบ UV เงา จึงเข้ากันได้ดีกับการนำไปติดฉลากครีมทาหน้า, ขวดแชมพูครีมนวดต่างๆ

4. สติกเกอร์พีวีซี (PVC) ชนิดขาวเงา, มันใส, ขาวด้าน, หลังเทา และชนิดกาวเหนียวพิเศษ
เป็นเนื้อพลาสติกคล้ายกับชนิดพีพี (PP) สามารถกันน้ำได้มากถึง 100% และทนความร้อนได้ถึง 40-60 องศาเซลเซียส เหมาะกับสินค้าได้มากมายหลายผลิตภัณฑ์ ไม่มีปัญหากับแสงแดด ความร้อน ความเย็น และความชื้นสูง จึงทนทานมาก เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานกลางแจ้งได้ดี และยังให้ผลเอฟเฟกต์ความมันเงาได้ดี สามารถใช้ได้ทั้งโลโก้, เครื่องใช้ไฟฟ้า, แกลลอน ถังน้ำมัน, แก้วน้ำ, กระจกรถยนต์, และเป็นสติกเกอร์โฆษณา

5. สติกเกอร์พีอีที (PET)
สติกเกอร์ชนิดทนทานต่อความร้อน มีราคาสูง แต่คุ้มค่ากับความทนทานที่ได้ สามารถใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอุณหภูมิสูงและยังกันน้ำได้ดีถึง 100% โดยอุณหภูมิที่ทนได้ถึง 140-200 องศาเซลเซียส ใช้ควบคู่กับเทคนิคพิมพ์ได้หลากหลายเช่นกัน แต่ไม่นิยมเคลือบลามิเนต

6. สติกเกอร์กันปลอมแปลง
เป็นสติกเกอร์สำหรับสินค้ามีราคา ที่ต้องการรักษามาตรฐานสูง จึงมีราคาค่อนข้างสูงเช่นกัน ตัวอย่างเช่น สติกเกอร์ Void กันปลอมสีเงินเงาและเงินด้านไม่มีลาย แต่ยังคงคุณภาพในการกันความร้อนและกันน้ำ และคุณสมับติเฉพาะตัวคือเมื่อลอกออกจะทิ้งคราบลายตัวอักษร เมื่อใช้แสงไฟส่องจะมองเห็นเป็นสีรุ้ง

7. สติกเกอร์สุญญากาศ
สติกเกอร์ที่ใช้ติดกระจกรถยนต์, ติดกระจกโชว์หน้าร้าน, บัตรจอดรถ ทนน้ำและความร้อนได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่นิยมให้โดนน้ำ ทนความร้อนได้ประมาณ 40-60 องศาเซลเซียส สามารถนำไปไดคัทก่อนใช้งานได้ ใช้เวลาผลิตไม่นาน แต่ไม่นิยมนำไปเคลือบ

8. สติกเกอร์ซีทรู
เป็นสติกเกอร์ที่มีราคาค่อนข้างสูง ติดได้บนกระจกรถเมล์ กระจกหน้าร้านต่างๆ ซึ่งคุณสมบัติเฉพาะตัวคือพรางสายตาให้ฝั่งหนึ่งมองทะลุไปยังอีกฝั่งด้านในไม่ได้ แต่จากด้านในสามารถมองออกไปด้านนอกได้ เปียกน้ำ กันน้ำได้ดี ทนความร้อนได้ 40-60 องศาเซลเซียส

ระบบพิมพ์ที่รองรับการพิมพ์สติกเกอร์ ต้องมีความสอดคล้องกันด้วย โดยสติกเกอร์ในแบบขาวมัน, ขาวด้าน, และแบบพีพี (PP) จะเหมาะกับการพิมพ์ระบบดิจิทัลออฟเซ็ต ส่วนแบบพีวีซี (PVC) ควรพิมพ์ด้วยระบบอิงค์เจ็ท แม้แต่การพิมพ์ด้วยระบบเลตเตอร์เพรส ก็สามารถรองรับได้กับกระดาษสติกเกอร์แทบทุกชนิดได้เช่นกัน และยังดัดแปลงร่วมกับการพิมพ์เทคนิคพิเศษได้ทั้งการ Spot UV, ปั๊มฟอยล์, หรือการไดคัท

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *