Gamut and Color Space

Gamut and Color Space

Gamut and Color Space ในการพิมพ์คือสิ่งที่ดีไซเนอร์ควรทำความเข้าใจ เพราะอุปกรณ์ในการพิมพ์ย่อมมีค่าสีที่แตกต่างกัน สิ่งนี้จะช่วยทำให้ดีไซเนอร์ได้สีของผลงานตรงตามที่ออกแบบไว้ ในแวดวงงานพิมพ์ Gamut ที่สำคัญและใช้กันเป็นประจำได้แก่ RGB, CMYK และ Hexachrome ซึ่งเป็นช่วงสีที่ใช้พิมพ์มากถึง 6 สี (CMYKOG) โดยเพิ่มสีส้มและเขียวเข้าไปให้ภาพมีชีวิตชีวามากขึ้น ช่วงสีที่ตามนุษย์เรามองเห็นได้ ก็เรียกว่า Gamut เช่นกัน โดยแสดงเป็นแผนภาพรูประฆังคว่ำ

 

 

Gamut

เนื่องด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ขณะนี้ ยังไม่อาจพิมพ์สีได้ครบเท่าที่ช่วงตาของเรามองเห็น แม้แต่ Gamut RGB ยังสามารถแสดงค่าสีได้เพียงแค่ 70% ของที่ตาเรามองเห็น และแสดงผลน้อยลงในระบบสี CMYK ทำให้ดีไซเนอร์ต้องทำความรู้จักค่าสีที่สามารถพิมพ์ได้และไม่สามารถพิมพ์ได้ ซึ่งทำให้ต้องเลือกใช้สีที่สามารถพิมพ์ได้แทน

  • RGB คือช่วงสีที่คิดเป็น 70% ของช่วงสีทั้งหมดที่ตาเรามองเห็น
  • sRGB คือช่วงสีที่เป็นมาตรฐานของ RGB เป็นสีที่ไม่อิงกับอุปกรณ์ ใช้แสดงผลรูปภาพบนอินเทอร์เน็ตบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ มีช่วงสีที่แคบกว่า RGB
  • ColourMatch RGB คือช่วงสีที่กว้างกว่า sRGB และพัฒนาได้ใกล้เคียงกับ CMYK ในงานพิมพ์ เมื่อแปลงภาพให้อยู่ในช่วงสีนี้ จะช่วยให้ภาพมีความสว่างขึ้น

Colour Space

แต่ละอุปกรณ์ในการทำกราฟิกดีไซน์และธุรกิจการพิมพ์จะมีช่วงสีที่เรียกว่า colour space เช่น RGB เป็น colour space ที่ใช้ในหน้าจอคอมพิวเตอร์และ CMYK เป็น colour space ที่ใช้ในงานพิมพ์ 4 สี ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ใดๆ ก็ตาม ทั้งกล้องดิจิทัล, เครื่องสแกน, และเครื่องพิมพ์ต่างก็มี colour space เป็นของตัวเอง ซึ่งมีความสามารถสร้างสีต่างๆ ได้อย่างจำเพาะในแต่ละอุปกรณ์ กล้องดิจิทัลบันทึกแสงเป็นพิกเซลในค่าสี R/G/B ที่ต่างกัน ซึ่งแต่ละค่าสีนี้ก็แสดงผลเป็นสีต่างๆ ได้แตกต่างกันด้วยการเปลี่ยน colour space ทำให้สีที่ใช้งานเปลี่ยนไปจากเดิม

Colour Profiles

คือค่าสีที่แสดงผลในแต่ละอุปกรณ์ ซึ่งในแต่ละอุปกรณ์จะมีค่านี้แตกต่างกันออกไป สิ่งที่สำคัญคือการหาจุดร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิด ค่านี้เป็นค่าที่กำหนดด้วยตัวเลขซึ่งแทนสีต่างๆ ที่ปรากฏใน colour space ซึ่งมีขึ้นเพื่อใช้ในการสื่อสารที่ตรงกันระหว่างอุปกรณ์

          Coated FOGRA39  & Uncoated FOGRA29

คือ colour profile ที่กำหนดเพื่อออกแบบงานที่มีคุณภาพด้วยระบบสี CMYK ในระบบออฟเซ็ตบนกระดาษผิวมัน โดยกระบวนการผสมสีให้ได้สัดส่วน 350% บนพื้นที่ที่มีน้ำหมึกบนกระดาษขาวที่มีการเคลือบ ถ้าเป็น uncoated fogra29 จะพิมพ์ในระบบ CMYK เช่นกัน บนกระดาษที่ไม่เคลือบผิวในสัดส่วน 260% ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีโปรไฟล์สีตัวใหม่ที่ถูกพัฒนามาเพื่อใช้ทดแทนแล้วคือ FOGRA51 และ  FOGRA52

          SWOP (Specifications for web offset publications)

คือ Colour Profile มาตรฐานที่ใช้ในการยืนยันคุณภาพในการพิมพ์โฆษณาที่ใช้ในเอกสารต่างๆ ในอเมริกา ซึ่งโปรแกรม Adobe Photoshop ใช้ SWOP เป็น Colour Profile พื้นฐานของโปรแกรมในการแยกสี CMYK มาตั้งแต่เริ่มต้น และเป็นโปรไฟล์ที่นิยมใช้ใน อเมริกา ส่วนประเทศไทยโรงพิมพ์และร้านแยกสีส่วนใหญ่จะ ใช้ FORGA เป็นพื้นฐาน

อ่านบทความเรื่องการพิมพ์ 4 สีได้ที่ https://papermore.co/2019/07/31/cmyk-rgb/

เพิ่มเติมเรื่องการพิมพ์ 6 สีที่ช่วยให้การพิมพ์ได้ชัดกว่าที่เคยได้ที่ https://papermore.co/2019/07/30/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b9%8c-6-%e0%b8%aa%e0%b8%b5-hexachrome/

และติดตามเราได้ที่ https://www.facebook.com/Papermorethailand/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *